ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554


      เมืองเพชรบุรีใช่จะมีแต่เพียงน้ำตาลโตนด...น้ำตาลมะพร้าวก็มีชื่อเหมือนกัน
ที่บ้านบางหอ...
นักเรียนของผมเข้าไปทำรายงานเกี่ยวกับนวัตกรรมภายในชุมชน  นำเรื่อง
ราวมาเล่าสู่กันในห้องเรียน...จึงขอนำมาเล่าขยายความต่อให้ชาว
ok ได้อ่านกัน
 ศุภาพัชญ์และนุ่น  พร้อมกับเพื่อนของเธอเข้าไปศึกษาการทำน้ำตาลมะพร้าว
ที่บ้านบางหอ
  ตำบลบางครก  อำเภอบ้านแหลม ..ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านของเธอนัก
    กลุ่มอาชีพทำน้ำตาลมะพร้าวที่บ้านบางหอเกิดจากคนทำน้ำตาลมะพร้าว 15
ครัวเรือน  โดยแต่ละครอบครัวมีสวนมะพร้าวของตนเอง  สมาชิกที่เข้าร่วมกลุ่มจะนำ
น้ำตาลสดที่ได้มาส่งที่กลุ่มและคนในบ้านที่ว่างงาน
   ก็จะมาช่วยกันแปรรูปทำน้ำตาล
มะพร้าวร่วมกัน...ปัจจุบันสมาชิกขยายตัวร่วม
130 คน..นับว่าเป็นกลุ่มที่ใหญ่พอสมควร
   การทำน้ำตาลมะพร้าวก็คล้ายกับการทำตาลโตนด..ตรงที่ชาวบ้านจะเลือกจั่น
มะพร้าวขนาดพอเหมาะ ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป
  ใช้มีดปาดปลายจั่นออก 3-4 นิ้วและ
กรีดกาบหุ้มโคนจั่นแล้วใช้เชือกโน้มจั่นให้ต่ำลง
  แล้วทิ้งไว้หนึ่งคืน
น้ำตาลที่ได้ผ่านการเคี่ยว..ปั่นให้แห้ง (ปัจจุบันใช้มอเตอร์ปั่น)  แล้วนำมา
หยอด..ลงเบ้าที่มีผ้าขาวบางชุบน้ำไว้..จนแห้งก่อนนำมาบรรจุขายต่อไป
ตาลมะเพร้าวอาจจะมีความหวานสู้ตาลโตนดไม่ได้......จึงไม่แปลกอะไร
ที่ชาวบ้านจะมีนวัตกรรมใหม่เติมน้ำตาลทรายลงไป..เพื่อเพิ่มความหวาน
บ้านบางหออยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองเพชรบุรีมากนัก..ขับรถผ่านอำเภอเขาย้อย
ผ่านบ้านทับคาง
  แล้วเลี้ยวซ้ายมาหนองปลาไหล..วิ่งมาเรื่อย ๆ ก็ถึงบางหอ..
นวัตกรรมในชุมชน..เป็นโครงงานที่นักเรียนของผมสืบค้นภูมิปัญญาไทย
ใช้แหล่งเรียนรู้และวิทยาการภายในชุมชน..นำมาวิเคราะห์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องเรียน
ซึ่งผมจะแวะเวียนนำมาเล่าสู่กันฟังอีก..ต่อไป..อย่าลืมติดตามอ่านครับ..
 มีอะไร ๆ  ที่สนุกเยอะเลย...
เรียนรู้สู่การปฏิบัติ..หยอดน้ำตาลกับชาวบ้านค่ะ
เพิ่มคำอธิบายภาพ
กว่าจะได้น้ำตาลต้องเลือกจั่นมะพร้าวที่พอเหมาะ.ปาดออก 3-4 นิ้ว..
กรีดกาบหุ้มโคนจั่น..โน้มจั่นสู่กระบอกรอน้ำตาลทิ้งไว้หนึ่งคืน
แปลงสวนมะพร้าวที่รอวันโตเพื่อทำตาล..
เมื่อก่อนใช้กระบอกไม้ไผ่..เดี๋ยวนี้กระบอกตาลเปลี่ยนเป็นพาสติกแทน
นำน้ำตาลมาเคี่ยวและปั่นจนพอเหมาะ...แล้วนำมาหยอดในเบ้า
เมื่อแห้งรูปร่างหน้าตาเป็นแบบนี้..ส่งไปขายได้เลยกิโลละ 25 บาท


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น